วีธีป้องกันและกำจัดเห็ดหมัดในสุนัข❗️

ในประเทศไทยที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่ความชื้นในอากาศสูง ถือเป็นช่วงเวลาทองของเหล่า “เห็บ” และ “หมัด” ซึ่งสามารถเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พวกมันกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับทั้งน้องหมา และเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกคน เห็บและหมัดเป็นปรสิตภายนอกที่คอยกัดและดูดเลือดสัตว์เลี้ยงเพื่อดำรงชีวิต ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ผลกระทบที่ตามมาอาจร้ายแรงกว่าที่คิด โดยเมื่อสัตว์เลี้ยงถูกกัด นอกจากจะมีอาการคันหรือระคายเคืองแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ •โรคโลหิตจาง (Anemia): เกิดจากการเสียเลือดสะสม อาจสังเกตได้จากอาการเหงือกซีดในสุนัข• •ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis): บริเวณที่ถูกกัดจะมีการอักเสบ คัน แดง หรือมีตุ่มขึ้น • ภาวะแพ้น้ำลายหมัด (Flea Bite Allergy): สัตว์เลี้ยงบางตัวอาจแพ้น้ำลายของหมัด ทำให้มีอาการคันมากผิดปกติ • โรคพยาธิในเลือด (Blood Parasite): เป็นโรคที่ติดต่อผ่านเห็บ เช่น พยาธิเม็ดเลือด ที่อาจทำให้น้องหมาอ่อนแรง เบื่ออาหาร หรือเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา วงจรชีวิตของหมัด การทำความเข้าใจวงจรชีวิตของปรสิตชนิดนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาและหยุดการแพร่ระบาด โดยวงจรชีวิตของหมัดจะแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ Read more…

กิจกรรมสนุกๆให้สุนัขไม่เหงา เมื่อเจ้าของไม่อยู่บ้าน!!

เมื่อเจ้าของต้องออกไปทำงาน,ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หรือทำธุระนอกบ้าน ก็มักจะกังวลว่าน้องหมาสุดรักจะต้องอยู่บ้านเหงาๆ เพราะโดยธรรมชาติ สุนัขเป็นสัตว์สังคม มีเชื้อสายมาจากหมาป่าที่อยู่รวมกันเป็นฝูงและทำกิจกรรมร่วมกันเสมอ การได้ใช้เวลาอยู่กับน้องหมาจะเป็นความสุขของเจ้าของ แต่ในชีวิตจริง เราอาจต้องออกจากบ้านไปหลายชั่วโมง หรือบางครั้งในช่วงวันหยุดยาวอาจต้องไปนานหลายวัน ดังนั้น เจ้าของควรเตรียมความพร้อมเพื่อให้สุนัขรู้สึกปลอดภัยและมีอะไรทำระหว่างที่อยู่บ้านตามลำพัง  ฝึกให้น้องหมาอยู่ตามลำพัง 1. ให้อยู่ตัวเดียวเป็นเวลาสั้น ๆ การฝึกสุนัขให้สามารถอยู่ตัวเดียวได้ในบ้านควรเริ่มจากการทำให้เขาคุ้นเคยกับการอยู่ลำพังในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้สุนัขค่อย ๆ ปรับตัวและไม่รู้สึกเครียดเมื่อเจ้าของต้องออกไปข้างนอก ในช่วงแรกของการฝึก อาจเริ่มจากการแยกพื้นที่กันภายในบ้าน เช่น ให้เจ้าของและสุนัขอยู่คนละห้องหรือคนละชั้น โดยเริ่มจากระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เจ้าของสามารถใช้เวลาให้ตัวเองได้โดยไม่ต้องอยู่ใกล้สุนัขตลอดเวลา จากนั้นค่อย ๆ กลับมาหาสุนัขเพื่อเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เขารู้สึกสบายใจและไม่รู้สึกว่าเจ้าของทิ้งเขาไป 2. เพิ่มการฝึกออกไปข้างนอก เมื่อสุนัขเริ่มคุ้นเคยกับการอยู่ลำพังในบ้านแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการฝึกให้อยู่โดยไม่ต้องมีเจ้าของอยู่ข้าง ๆ การออกไปข้างนอกเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น 1-2 ชั่วโมง ก่อน และเมื่อกลับมาทักทายสุนัขด้วยการลูบหัวหรือใช้คำพูดอบอุ่น เพื่อให้เขารู้สึกสบายใจว่าแม้เจ้าของจะออกไปข้างนอก แต่ยังคงรักและดูแลเขาเหมือนเดิม การทักทายด้วยน้ำเสียงปกติ และการหลีกเลี่ยงการแสดงความตื่นเต้นเกินไปหลังกลับมาจะช่วยให้สุนัขไม่รู้สึกว่าการออกจากบ้านของเจ้าของเป็นเรื่องใหญ่ หรือทำให้เขารู้สึกโดดเดี่ยว Read more…

เช็คสัญญาณเตือน!!พฤติกรรมที่บงบอกว่าสุนัขป่วย

อาการซึม อาการซึมในสุนัข เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสุขภาพของสุนัขอาจมีปัญหา โดยปกติแล้ว สุนัขที่เคยร่าเริงและกระฉับกระเฉง อาจเริ่มแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ขยับตัวน้อยลง เคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ นอนมากขึ้น และดูไม่มีเรี่ยวแรง บางตัวอาจไม่สนใจสิ่งรอบตัว ไม่ตอบสนองต่อเจ้าของ หรือเลิกทำกิจกรรมที่เคยชอบ หากอาการซึมเกิดจากความเจ็บป่วย สุนัขอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่งผลให้หงุดหงิด หรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น สาเหตุที่ทำให้สุนัขซึม 1. ปัญหาสุขภาพทางร่างกาย – พบบ่อยในสุนัขสูงวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เคลื่อนไหวลำบาก และไม่อยากเล่น – สุนัขที่กำลังป่วย อาจมีไข้ ปวดตามตัว หรือรู้สึกไม่สบาย ทำให้หมดแรงและต้องการนอนพักมากขึ้น 2. ภาวะความผูกพันมากเกินไป (Separation Anxiety) – สุนัขที่ผูกพันกับเจ้าของหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นมากเกินไป เมื่อต้องแยกจากกัน อาจเกิดอาการซึม เบื่ออาหาร ไม่ร่าเริง หรือแสดงพฤติกรรมกระวนกระวาย เช่น เห่า หอน ขับถ่ายไม่เป็นที่ ทำลายข้าวของ หรือเลียตัวเองบ่อย – Read more…

Facebook